การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเมื่อประสบความล้มเหลวในด้านการศึกษา

4

การปฏิรูปการศึกษาของไทยต้องประสบความล้มเหลวในทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มปฏิรูปกันใหม่ในทศวรรษที่ 2 หลายฝ่ายต่างก็ให้ความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบตามมาตรการไทยเข้มแข็ง ฯลฯ แต่จะมีใครบ้างที่คิดถึงต้นเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวนี้ว่าต้นเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร การจัดการศึกษาที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง แอบอ้างและลอกเลียนแบบชาติอื่นเขามาเมื่อเห็นว่าชาติเขาพัฒนาได้ก็เอาอย่างเขา โดยไม่ได้คำนึงถึงบริบทของตัวเอง  ทั้งด้านสังคม  วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างจากชาติต้นแบบโดยสิ้นเชิง  ด้วยเหตุนี้การพัฒนาการศึกษาของไทยจึงล้มเหลวมาตลอด แม้แต่ประเทศเวียดนามที่ต้องประสบภาวะสงครามนับสิบ ๆ ปี เพิ่งจะรวบรวมประเทศได้ไม่ถึง 30 ปี เมื่อเปรียบกับไทยที่มีความเป็นเอกราชมาตลอดนับเฉพาะยุคประชาธิปไตยก็ 70 กว่าปีแล้วการศึกษาของเราน่าจะพัฒนาล้ำหน้าไปกว่าเวียดนามมากมายนัก แต่ความเป็นจริงในปัจจุบันการพัฒนาการศึกษาของเวียดนามกำลังจะทัดเทียมกับเราและอีกไม่นานก็คงจะแซงหน้าเราไปจนได้

การแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเมื่อประสบความล้มเหลวก็มักจะโยนความผิดให้ผู้อื่นโดยขาดความรับผิดชอบจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนักการเมือง นักวิชาการ ฯลฯ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นเหตุไม่พึงประสงค์ เช่นนักเรียน นักศึกษา มั่วสุมยาเสพติด  มั่วเรื่องเพศ  หรือเหตุรุนแรงยกพวกตีกัน เราก็มักจะโยนความผิดให้ตัวเด็กบ้าง สื่อสารมวลชนบ้าง โดยลืมนักถึงระบบการจัดการศึกษาที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ว่าเหมาะสมกับคนไทย วัฒนธรรมและสังคมไทยหรือยัง นักวิชาการและนักการศึกษาของไทยขาดความคิดริเริ่ม นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เมื่อปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา การศึกษาของไทยมักจะไปอ้างอิงของต่างชาติ โดยไม่มีนักการศึกษาหรือนักวิชาการคนใดที่จะเสนอแนวทางที่เป็นของไทยแท้ ๆ  จนกระทั่งปัจจุบันวัยรุ่นไทยมักจะดูถูกบรรพบุรุษตัวเอง โดยมักจะพยายามทำตัวให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นลูกครึ่ง ตัวอย่างเช่น นายนาทาน ที่เคยเป็นข่าวหรือการพูดโดยพยายามดัดเสียงออกเสียงไม่ชัดเพื่อให้คนเข้าใจว่าไม่ใช่คนไทยแท้ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในหมู่วัยรุ่น